• 21 February 2017 at 11:00
  • 3604
  • 0

เปิด 8 โมเดล "บ้านไม่หนีน้ำ" งานสถาปนิก′55 เอาอยู่"ชักโครก-ระบบน้ำ-ไฟ" อย่างไร??


ภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อช่วงปลายปี 2554 ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ประเมินมูลค่ากว่าแสนล้านบาท

 

 

 

หลายคนแปลกใจว่า เกิดอะไรขึ้น ทั้งที่บรรพบุรุษของคนไทยใช้ชีวิตอยู่กับน้ำมาตั้งแต่อดีต ทำไมจึงอยู่รอดกันมาได้ ทั้งที่ในอดีตยังไม่มีวิวัฒนาการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

 

 

 

แล้วเหตุใดคนรุ่นลูกหลาน ซึ่งมีวิวัฒนาการ เทคโนโลยีมายมายกลับโดน”น้ำ”เล่นงานจนเสียศูนย์

 

 

 

ดังนั้น ในการจัด”งานสถาปนิก’55”ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงมีแนวคิดการจัดงานภายใต้คอนเซ็ปต์ ”Water brick” หรือ ”ก้อนน้ำ” เพื่อตอบโจทย์ความสนใจของผู้คนในปัจจุบัน ที่ต้องการทราบแนวทางสำหรับรับมือกับปัญหาภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต พร้อมทั้งการปรับตัวให้สามารถอยู่ร่วมกับ”น้ำ”ได้เหมือนกับวิถีแห่งบรรบุรุษ

 


 

โดยเฉพาะการนำเสนอการออกแบบ”บ้านไม่หนีน้ำ”ประมาณ 8 แบบ เพื่อมอบให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม

 

 

 

รวมถึงประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการซ่อมแซมหรือปรับปรุงบ้าน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น

 

 

 

โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทสถาปนิกชั้นนำมาร่วมกันออกแบบบ้านที่สามารถอยู่ร่วมกับน้ำได้ทั้งนี้ แต่ละแบบจะมีแนวคิดที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ

 

 

 

คือ 1.บ้านยกใต้ถุนสูง แบบใช้วัสดุที่ปรับใช้กับน้ำท่วมได้ โดยมีการพื้นที่ไว้เก็บเรือพร้อม บางแบบสามารถปรับโรงจอดรถเป็นท่าเรือ และ2.แบบเป็นทุนลอยน้ำ ซึ่งหากน้ำท่วมสูงบ้านจะลอยสูงขึ้น ทำให้รถที่จอดไว้ และข้าวของไม่ถูกน้ำท่วม

 

 

 

ที่สำคัญความแตกต่างระหว่างบ้านวิถึไทยในสมัยโบราณที่"ยกใต้ถุนสูง"กับ"บ้านไม่หนีน้ำ"ในงานสถาปิก′55คือการออกแบบบ้านแต่ละหลังเน้นในเรื่องการวางระบบน้ำ และไฟฟ้า เพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถใช้ชีวิตอยู่อาศัยระหว่างที่น้ำท่วมบ้านได้ตามปกติ

 

 

 

 

โดยเฉพาะระบบน้ำ สามารถใช้ชีวิตเข้าห้องอาบน้ำได้ตามปกติ ชักโครกกดน้ำได้ตามปกติ ไม่มีล้น ระบบไฟฟ้า ยังใช้ได้ปกติ ลานจอดรถยนต์ที่สามารถปรับระดับเตรียมรับน้ำท่วมได้ แค่ไหนอย่างไร(ชมคลิป)